เผย! โรคเมอร์ส หรือไวรัสโคโรน่า น่ากลัวอย่างไร

เผย! โรคเมอร์ส หรือไวรัสโคโรน่า น่ากลัวอย่างไร

เมอร์ส 1

โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบใหม่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส ชนิดโคโรน่าไวรัส ( corona virus) จัดอยู่ในกลุ่ม single-stranded RNA virus

ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว  เป็นต้น

ต่อมาไวรัสนี้ได้พัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคน โดยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรก คือ ประเทศ ซาอุอาราเบีย ในปี ค.ศ.2012 โดยผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก และเสียชีวิตในที่สุด

ส่วนอาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันตั้งแต่รุนแรงมากจนถึงรุนแรงน้อย และมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไม่แสดงอาการเลย

ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าไวรัสจากสัตว์เข้าสู่คนด้วยวิธีใด และการติดต่อระหว่างคนกันได้อย่างไร แต่มีข้อมูลว่าการติดต่อมักเกิดขึ้นภายในครอบครัว และจากในโรงพยาบาล

เมอร์ส 3

ข้อมูลปัจจุบันพบว่ามีผู้ติดเชื้อเมอร์สทั่วโลกกว่า 500คน เสียชีวิตไปแล้ว 140คน โดยยังไม่มียา และวัคซีนที่จะใช้ในการรักษา และป้องกันโรคได้

ลักษณะของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า เมอร์ส

ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้ บางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่แพร่เชื้อได้โดยไม่รู้ตัว

แต่ผู้ติดเชื้อโคโรน่า เมอร์ส ส่วนมากมักมีอาการไข้ ไอ หรือหอบเหนื่อยในระยะแรกของโรค องค์การอนามัยโลก WHO แนะนำให้ใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ลักษณะคลินิก ประวัติการสัมผัสเชื้อ และการตรวจพบหลักฐานการติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการ

–  ลักษณะคลินิก คือ อาการในระบบการหายใจ ไอ มีเสมหะ หอบ เหนื่อย ปอดอักเสบและมีไข้ และอาจจะมีการยืนยันจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกหรือการตรวจชิ้นเนื้อว่า ปอดอักเสบ หากรุนแรงจะทำให้การหายใจล้มเหลวและไตวาย

– ประวัติการสัมผัสเชื้อ มีข้อมูลค่อนข้างหลากหลายในการสัมผัสเชื้อ แต่ยังไม่ทราบวิธีแพร่เชื้อที่แท้จริง เช่น

  • อาจอาศัยในดินแดนที่มีรายงานผู้ป่วยโรคนี้ หรือป่วยภายใน 14 วัน หลังจากเดินทางออกจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ
  • อาจสัมผัสกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้ โดยไม่รู้ตัว
  • อาจสัมผัสกับผู้ที่เคยเดินทางไปยังดินแดนที่มีรายงานผู้ป่วยโรค
  • อาจสัมผัสกับสัตว์หรือฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ผู้ป่วยมีฟาร์มปศุสัตว์ 2 แห่งและสัมผัสกับอูฐ ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสโคโรน่า เมอร์ส
  • อาจใช้ท่อช่วยหายใจเข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ โดยกรณีนี้อาจเกิดกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย

Anti Virus Concept

ปัจจุบันประเทศที่มีรายงานยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า เมอร์สแล้ว คือ ฝรั่งเศส อิตาลี จอร์แดน คูเวต มาเลเซีย โอมาน คาต้าร์ ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฟิลิปปินส์ และล่าสุด อียิปต์และสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยนอกประเทศคาบสมุทรอาหรับยังมีน้อย  แต่ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่การระบาดของโรค หรือในประเทศคาบสมุทรอาหรับและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ บาห์เรน อิหร่าน อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน ปาเลสไตน์ โอมาน กาตาร์ ซีเรีย สหรัฐอาหนับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย และเยเมน หลังจากกลับมาจากประเทศเหล่านี้แล้วภายใน 14 วัน หากป่วยเป็นไข้ ไอแล้ว 2 วัน อาการไม่ทุเลาหรือมีไข้ไอหอบเหนื่อย ให้ไปโรงพยาบาลและแจ้งประวัติเดินทางให้แพทย์ทราบเพื่อรักษาต่อไป

แนวทางการรักษา

ผู้ที่สงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้ ให้สวมหน้ากากอนามัยทันที ไม่ไอ จาม ใส่ผู้ใกล้ชิด แล้วรีบไปโรงพยาบาล เมื่อถึงโรงพยาบาลให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลที่โรงพยาบาลทราบทันทีว่า สงสัยตนเองว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ โรงพยาบาลจะแยกตัวท่านไว้ในห้องแยก หากมีห้องแยกพิเศษที่ควบคุมแรงดันอากาศภายในห้องให้เป็นลบได้ และสามารถกรองและดูดอากาศในห้องออกไปฆ่าเชื้อได้ ท่านจะถูกรักษาที่ห้องนี้ นอกจากนี้ควรงดเว้นการออกกำลังกายถึงแม้ว่าจะป่วยเล็กน้อยก็ตาม

เมอร์ส 4

การป้องกัน

องค์การอนามัยโลก WHO ยังไม่ได้แนะนำให้งดการเดินทางไปแสวงบุญ และร่วมพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อนเดินทาง รวมทั้งอาจจะสวมหน้ากากอนามัยเวลาอยู่ร่วมกับคนหมู่มากในประเทศที่มีโรคนี้ แล้วล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจับต้องถูกผู้ป่วย หรือน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ไม่คลุกคลีหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีไข้และไอ ไม่แนะนำให้ไปเยี่ยมฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคนี้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินนมอูฐดิบหรือเนื้ออูฐดิบ ผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับ ควรจะดูแลตนเอง โดยละเว้นการไปในแหล่งชุมชนแออัดในประเทศจนกระทั่งเลย 14 วันหลังกลับมาแล้ว

ขอขอบคุณ เครดิตภาพจาก news.ch7 และ  โรงพยาบาลสมิติเวช


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *