กระจ่างเลย!!! ทำไม “ชาวนาญี่ปุ่น” รวยกว่า “ชาวนาไทย” ที่ยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้…
ย้อนไปเมื่อสมัยที่สหรัฐอเมริกาชนะสงครามเหนือญี่ปุ่น ตอนนั้นรัฐบาลสหรัฐสั่งให้ญี่ปุ่นปฏิรูปที่ดินทั้งประเทศ โดยบังคับให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่ ซึ่งสมัยนั้นที่ดินมีเฉพาะกลุ่มคนรวย คนชั้นสูงเท่านั้น รัฐบาลสหรัฐบังคับให้ขายที่ดินให้รัฐบาล แล้วเอาที่ดินเหล่านั้น มาแบ่งขายให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน โดยตั้งราคาขายตายตัว(ไม่ขึ้นลงตามราคาตลาด) ให้สามารถผ่อนจ่ายได้ตามรอบฤดูการเก็บเกี่ยว
ภาวะหลังสงครามของกินของใช้มีน้อย พ่อค้ากักตุนสินค้า และขายของราคาแพง เงินไหลไปอยู่กับกลุ่มพ่อค้า รัฐบาลจึงต้องพิมพ์เงินเติมเข้าไปในกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปรับความสมดุล ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อนี้เป็นผลดีกับกลุ่มชาวนาที่ผ่อนจ่ายที่ดินที่รัฐบาลนำมาขายให้ เพราะเงินเฟ้อ ขายของได้เงินจำนวนที่มากขึ้น แต่ผ่อนจ่ายที่ดินในราคาเท่าเดิม
มาตรการนี้ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลกว่าเป็นการปฏิรูปเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะ นอกจากทำให้ชาวนามีที่ดินเป็นของตัวเองแล้ว ยังเป็นการปลดพันธนาการ ระหว่างนายทุนกับชาวนา ออกจากกันได้ ทำให้ชาวนาเริ่มมีอิสระที่แท้จริงในการประกอบอาชีพ
อีกอย่างคืน การทำนาในประเทศญี่ปุ่น คนจะเป็นชาวนาได้ก็โดยเป็นชาวนาอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น ถ้าพ่อเป็นชาวนา เมื่อพ่อทำไม่ไหว คนที่จะทำต่อได้ต้องเป็นลูกหรือผู้เข้ารับมรดกเท่านั้น หากประชาชนทั่วไปอยากทำนา ต้องเข้าระบบสหกรณ์ รัฐจะจัดสรรที่ดินให้ทำ โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเหมือนชาวนาดั้งเดิม ทำให้รัฐบาลรู้จำนวนผลผลิตที่จะออกมา สามารถวางแผนได้ว่าการบริโภคภายในจำนวนเท่าไร ส่วนที่เกินจะเอาไปขายที่ไหน
ซึ่งการทำนาของชาวญี่ปุ่น ไม่ได้หยุดพัฒนาอยู่เพียงเท่านั้น ยังมีการเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเพาะปลูกด้วย โดยพัฒนาจนมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ทนต่อโรคและแมลง
2. ทนอากาศหนาว
3. ต้นเตี้ย
4. แตกกอดี
5. ผลผลิตสูง
6. ปริมาณสารอาหารสูง
7. รสชาติดี
8. ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ
9. ตอบสนองการเจริญเติบโต ด้วยสารอาหารจากอินทรีย์
10. เมื่อนำไปสี ได้ปริมาณข้าวสารเมล็ดเต็มสูง (ข้าวญี่ปุ่นได้ข้าวเมล็ดเต็ม 60% นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม จึงวิจัยออกมาให้ ข้าวญี่ปุ่นจึงเมล็ดสั้น ไม่ผลิตจนล้นตลาด
ไปชมภาพศิลปะบนผืนนาที่ญี่ปุ่นกัน
การทำนาของญี่ปุ่น เกิดจากการวางแผน ทดลอง วิจัย สืบหาปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหามาแล้วเป็นอย่างดีนั้นเอง
ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก ideadeede และ greannews
Leave a Reply