โรงพยาบาลไทยแห่งนี้ “ให้เงินเดือน” พนักงาน 1 ล้านบาท?!!! “ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา” รีบไปสมัครด่วนๆ!!

โรงพยาบาลไทยแห่งนี้ “ให้เงินเดือน” พนักงาน 1 ล้านบาท?!!! “ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา” รีบไปสมัครด่วนๆ!!

โรงพยาบาล เงินเดือน 1 ล้าน

กลายเป็นกระแสดังไปแล้ว สำหรับโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้ออกมาโฆษณารับสมัครงานตำแหน่ง “ผู้สำรวจความสุขคนไข้” พร้อมบอกว่า เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในประเทศไทย (Best Job In Thailand) พร้อมให้เงินเดือนมากถึง 1 ล้านบาทนั้น จริงรึเปล่า? อยากรู้คำตอบไปอ่านได้เลยครับ

ตำแหน่งผู้สำรวจความสุข เงินเดือน 1 ล้าน ของจริงใช่ไหม?

นายกันตพร หาญพาณิชย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ ให้คำตอบยืนยันว่า เป็นเรื่องจริง

ตำแหน่งผู้สร้างความสุข ต้องทำงานอะไรบ้าง

ตำแหน่งผู้สร้างความสุข มีหน้าที่ สอบถามสารทุกข์สุกดิบของคนไข้ เพื่อสำรวจผู้ป่วยระหว่างที่ได้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ว่า มีความสุขดีรึเปล่าเมื่อมาพักรักษาตัว หรือ ใช้บริการที่โรงพยาบาล จากนั้น ก็จะนำไปโพสต์ผ่านทาง Facebook ของโรงพยาบาล เพื่อเป็นการยืนยันว่า การรักษาของโรงพยาบาล เท่ากับ มาตรฐานโรงพยาบาลระดับโลก

ตำแหน่งนี้ใช้วุฒิการศึกษาอะไร

สำหรับตำแหน่งนี้ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา! แค่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลา สัญญา 6 เดือน ส่วนสวัสดิการอื่นๆ นอกจากเงินเดือน 1 ล้านบาทแล้ว ยังมีที่พักระดับพรีเมียมในโรงพยาบาล และสวัสดิการสิทธิการรักษาในโรงพยาบาลฟรี ตลอดระยะเวลาที่รับตำแหน่งอีกด้วย

วิธีการคัดเลือก

จะทำการคัดเลือก จากคลิปวิดีโอแนะนำตัวเองว่ามีความเหมาะสมกับงานอย่างไร ซึ่งจะมีความยาวไม่เกิน 1 นาที แต่จะไม่จำกัดจำนวนครั้งในการส่ง

แค่สัมภาษณ์คนไข้ ทำไมได้เงินเดือนตั้ง 1 ล้านบาท

อาชีพนี้เป็นการสำรวจปัจจัยที่คนไข้ต้องการ เพื่อทำการสรุปปัจจัยที่จะทำให้คนไข้มีความสุขมากขึ้น หรือ พัฒนาการบริการได้ดีมากขึ้น ซึ่งหากไปจ้างบริษัททำวิจัยราคาก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่การทำแบบนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ รพ.รู้ได้ว่า คนไข้ต้องการอะไร และจะทำให้คนไข้มีความสุขเพิ่มได้อย่างไร นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้มา ยังสามารถนำไปต่อยอดให้ รพ.นำไปพัฒนาการให้บริการ ให้ได้ดีมากยิ่งขึ้นไปได้อีกด้วย

ให้เงินเดือน 1 ล้าน หวัง PR แฝง จริงหรือไม่?

“ส่วนหนึ่ง ยอมรับว่า ก็เป็นกึ่งๆ การโฆษณาตัวแบรนด์ของโรงพยาบาล แต่จุดประสงค์หลักที่โรงพยาบาล ทำคือ การรับสมัครงาน ส่วนเรื่องของการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล เป็นเรื่องที่รองลงมา และเป็นผลพลอยได้ของโรงพยาบาล” นายกันตพร กล่าว

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา อดีตนายกแพทยสภา กล่าวว่า
“สิ่งที่โรงพยาบาลต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ การนำเรื่องราวของผู้ป่วยไปเผยแพร่ยังเฟซบุ๊กของโรงพยาบาล เบื้องต้น จะต้องได้รับอนุญาตจากคนไข้เสียก่อน หากคนไข้ยังเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล มิเช่นนั้น อาจจะถูกฟ้องร้องได้ และการเผยแพร่จะต้องไม่มีการพูดถึงอาการป่วยของคนไข้ เนื่องจากเป็นความลับส่วนบุคคลที่ไม่ควรเปิดเผย เว้นแต่ได้รับอนุญาต
“นอกจากนี้ จะต้องไม่มีการโอ้อวดสรรพคุณการรักษาที่เกินกว่าความเป็นจริง เช่น ป่วยด้วยอาการโรคหนึ่ง แล้วมารักษาที่โรงพยาบาลแล้วหาย ลักษณะแบบนี้ไม่สามารถเผยแพร่ได้
ส่วนที่เผยแพร่ได้ จะเป็นไปในลักษณะ เช่น รู้สึกประทับใจในการเอาใจใส่ของแพทย์ และ พยาบาล เป็นต้น
“ส่วนตัวมองว่า แคมเปญนี้น่าสนใจ เพราะหากทำแล้วได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนในแง่ดีในเรื่องของการเอาใจใส่ของแพทย์และพยาบาล ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะทำให้โรงพยาบาลอื่น ๆ นำไปปฏิบัติตาม เพื่อช่วยพัฒนาการบริการทางสาธารณสุขของไทยต่อไป”
แต่หากทำมีการกระทำผิด อดีตนายกแพทยสภา กล่าวว่า หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษใน 2 ส่วน คือ ส่วนแพทยสภา จะถูกพักใช้ใบอนุญาต ส่วนการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง จะมีโทษถึงการจำคุก
อยากดัง ต้องพร้อมรับความเสี่ยงครับ รอติดตามกันต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Theworldmedicalcenternetwork และ ไทยรัฐ


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *