เปิดใจ… เจ้าของตึกร้างระฟ้าใจกลางกรุงเทพฯ “สาธรยูนีค” ร้างนาน 20 ปี!!! กับคำถามมากมาย เช่น ทำไมปล่อยให้ร้าง ทำไมไม่สร้างต่อ และทำไมไม่ทุบตึกทิ้ง???

เปิดใจ… เจ้าของตึกร้างระฟ้าใจกลางกรุงเทพฯ “สาธรยูนีค” ร้างนาน 20 ปี!!! กับคำถามมากมาย เช่น ทำไมปล่อยให้ร้าง ทำไมไม่สร้างต่อ และทำไมไม่ทุบตึกทิ้ง???

ตึกร้าง สาธร แม่น้ำเจ้าพระยา

ตึก ยูนีค ทาวเวอร์ 50 ชั้น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฉายาว่า “ตึกผี” แม้ชื่อจะฟังดูน่ากลัว แต่กลับดึงดูดทั้งคนไทยและต่างชาติให้ขึ้นมาพิชิตยอดตึกสูงที่มีวิวทิวทัศน์งดงามแห่งนี้

ทำไมถึงร้าง ทำไมไม่สร้างต่อให้เสร็จ แม้กระทั่ง ทำไมไม่ขายให้จบๆ กันไป

นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ กรรมการบริหารบริษัท สาธรยูนีค จำกัด ลูกชายที่มารับช่วงต่อจากคุณพ่อ ‘อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ’ สถาปนิกเบอร์ต้นของเมืองไทย เจ้าของตึกระฟ้าแห่งนี้ เล่าว่า

“เงิน 1,800 ล้านบาท คือ เงินลงทุนโครงการทั้งหมดของสาธรยูนีค โดยได้งบมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ เงินลงทุนของบริษัท สาธรยูนีค จำกัด เงินจากการขายพรีเซลส์ลูกค้า ซึ่งเปิดขายโครงการไม่ถึงเดือนก็ประสบความสำเร็จ ด้วยราคาขายขณะนั้นอยู่ที่ตร.ม. ละ 25,000 บาท (ปัจจุบัน ตร.ม. ละ แสนกว่าบาท) ทำให้ขายได้ถึง 90% ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเพนท์เฮาส์ และช็อปด้านล่าง
แต่แล้ว ‘สาธร ยูนีค’ ก็เกิดสะดุดขึ้นมาในปี 2536 อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ พ่อของนายพรรษิษฐ์ ถูกตั้งข้อหาในคดีจ้างวานฆ่านายประมาณ ชันซื่อ ประธานศาลฎีกาในขณะนั้น จึงทำให้สถาบันการเงินชะลอการปล่อยเงินกู้ หลังจาก อ.รังสรรค์ ถูกขังหลายเดือนจนได้รับการประกันตัว สถาบันการเงินก็ปล่อยเงินกู้ต่อไป (ปัจจุบันศาลได้ยกฟ้องคดีนี้แล้ว)

ตึกร้าง สาธร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา_4DQpjUtzLUwmJZY37Id8X1udcD4daKm4uSC88rDy9SaE ตึกร้าง สาธร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา_4DQpjUtzLUwmJZY37Id8X1udcD4daKm7ieGboqQrkzzD

ต่อมาปี 2540 สถาบันการเงินหลายที่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทสาธรยูนีค ได้ปิดตัวลงจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง จากสาเหตุหนี้สินท่วม การกู้เงินจึงจบลง

นายพรรษิษฐ์ เล่าต่อว่า แม้สถาบันการเงินจะปิดไปแล้ว แต่สามารถฟ้องผู้ที่รับสิทธิ์ต่อได้ ก็คือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน แต่ก็ยากลำบากตรงที่ทุกสิ่งทุกอยากถูกยำรวมกันเป็นแกงโฮะ โดยตามกฎหมายที่รัฐบาลเขียนขึ้นมาจะต้องตรวจดูบัญชีก่อน แยกหนี้ดี หนี้เสีย แต่รัฐไม่ทำ กลับเอาบริษัทที่มีปัญหาทั้งหมดมายำรวมกัน และแบ่งขายทอดตลาด จัดประมูลและลดราคาให้ด้วย พอเอกชนประมูลเสร็จเพิ่งมาดูกฎหมายว่า ต้องเป็นบริษัทกองทุนรวมประมูลและจะได้ละเว้นภาษี ซึ่งแทนที่รัฐจะยกเลิกการประมูล แต่กลับบอกผู้ที่ประมูลได้ ให้ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกองทุนรวมมาสวมสิทธิ์แทน

นอกจากนี้ ครั้นจะไปฟ้องหน่วยงานของรัฐก็ถูกตัดตอน แต่ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการยุติธรรมมีเอี่ยวในเรื่องนี้ แต่เพราะพวกเขาไม่อยากรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะถ้าเปิดรับ ปัญหาจะแห่มาเป็นสึนามิ และต้องรื้อแก้ไขใหม่ระบบเศรษฐกิจจะพังทั้งหมด

“การที่คุณไม่ได้รับความยุติธรรม โดยรัฐซึ่งเปรียบเสมือนพ่อแม่คุณ แต่พ่อแม่คุณหักหลังคุณเอง ยัดเยียดเอาบาปให้คุณ เอาความชั่วร้ายทั้งหมดให้คุณ และบอกว่าคุณน่าจะต้องตาย คุณต้องล้มละลาย นี่ไงคนที่ล้มเขาถึงฆ่าตัวตายกันตอนปี 40” นายพรรษิษฐ์ กล่าวอย่างเจ็บปวด

นายพรรษิษฐ์ เล่าต่อว่า “เคยมีลูกค้าเป็นคุณลุง วัย 70 ปี เขาเป็นเจ้าหนี้เราแค่เแสนเดียว อยู่ๆ มาหาผมแล้วลงไปคุกเข่ากราบเท้าผม แกพูดว่า ขอเงินแสนเดียวคืนเถอะ จะเอาไปให้ลูก ผมอึ้ง…น้ำตามันล้นแต่ร้องไห้ไม่ออก รีบลงไปคุกเข่าตามและบอกไปว่า คุณลุงอย่าทำแบบนี้เลยครับ ผมทำอะไรไม่ได้จริงๆ จะให้ผมตายก็ได้ แต่ถ้าผมคืนเงินให้ลุง เจ้าหนี้ที่เหลือก็จะมาฆ่าผมแน่ๆ ว่าทำไมคุณลุงได้พวกเขาไม่ได้

นอกจากนี้ ก็เคยมีแบบชี้หน้าด่าว่า พ่อแม่มึงโกงกูหรอ หรือชาวเน็ตที่คอมเมนต์ด่าในโซเชียลมีเดียว่า พวกมึงเป็นภาระของประเทศ ตึกนี้เมื่อไหร่จะทุบทิ้งสักที เป็นภาระทัศนอุจาดของประเทศ เอาไว้ก็ประจานประเทศ เป็นตราบาปของประเทศ ผมอ่านตลอดนะ หรือบางทีมาแบบขอร้อง เป็นป้าแก่ๆ มาขอเงินคืน บางทีผมก็พูดไม่ออก มันจุกไปหมด”

แม้ว่านายพรรษิษฐ์ จะอยากควักเงินในกระเป๋าสตางค์ตัวเองชดใช้ให้กับเจ้าหนี้ แต่ก็ยอมรับอย่างตรงๆ ว่า “ผมไม่มีปัญญาเลยครับ เพราะว่าถ้าให้คนนี้ คนต่อๆ ไปก็จะมาเยอะมาก ไม่ใช่แค่โครงการสาธรยูนีค เท่านั้น แต่ยังมีโครงการอื่นๆ อีกมาก แค่เฉพาะเจ้าหนี้โครงการสาธรยูนีค ประมาณ 500 ราย และต้องคืนให้เขาเต็มจำนวนทั้งหมดประมาณ 700 กว่าล้านบาท”

ตึกร้าง สาธร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา_4DQpjUtzLUwmJZY37Id8X1udcD4daKm070WjAnkkm2HT

หลายคนคงสงสัยกันว่า ทำไมไม่ทุบตึกทิ้ง

นายพรรษิษฐ์ ตอบว่า คุณพ่อของเขา คือ อ.รังสรรค์  มีความเชื่อว่า ตึกนี้มีคุณค่า สามารถขายได้ในราคาพอที่จะเยียวยาทุกคน พ่อตั้งปณิธานว่า จะต้องคืนเงินแก่ลูกค้าทั้งหมดเท่าที่จะสามารถหามาให้ได้ ซึ่งก็คือ เงินต้นทั้งหมด

ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ก็คือ คำนวณเงินที่เป็นหนี้ทั้งหมด ทั้งเจ้าหนี้ที่เป็นลูกค้า เจ้าหนี้ผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินรายใหม่คิดดอกเบี้ยเต็ม และตั้งราคาขายไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

“โอกาสลดราคามี แต่มันไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของผม ที่อยากขายเร็วๆ ก็ลดให้ได้ แต่ตึกนี้มันมีเจ้าหนี้เยอะ และราคาก็ไม่ได้ตั้งจนเว่อร์ เพราะมันมีลิสต์เป็นหลักฐานอยู่แล้ว สถาบันการเงินเรียกราคานี้ เนื่องจากฟ้องบริษัทสาธรยูนีคมาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเต็มที่ 20 ปี ตัวเลขมันอยู่ในคดี เขาก็เรียกตามนี้”

10 กว่าปี มีคนสนใจซื้อตึกนับ 100 ราย

นายพรรษิษฐ์ เล่าต่อว่า “ตลอดระยะเวลามีคนมาดูตึกดังกล่าวนับ 100 ราย ส่วนใหญ่เพราะว่าตึกนี้มีชื่อเสียงใครสานต่อจนสำเร็จก็มีโอกาสที่จะติดอันดับในวงการอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่สุดท้ายก็สู้ราคาไม่ไหว ขณะที่ผู้ลงทุนต่างประเทศ มีทั้งเจ้าชายจากซาอุดีอาระเบีย หรือกลุ่มผู้ลงทุนจากอเมริกา แต่เป็นอันต้องคลาดกันมาโดยตลอด เพราะปัญหาที่ไม่สามารถแสดงสถานะทางการเงินได้ หรือมีปัญหาเรื่องการนำเงินเข้ามาในประเทศ

ปัจจุบันค่าก่อสร้างตึกนี้ต่อให้เสร็จ จะต้องใช้เงินขั้นต่ำ 1,200 ล้านบาท แต่หากต้องการให้เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว จะต้องใช้เงิน 2,000 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมกับถามผู้สื่อข่าวกลับมาว่า “สถาบันการเงินที่ไหนจะให้กู้ทั้งๆ ที่รู้ว่า ขาดทุนแน่ๆ”

ตึกร้าง สาธร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา_4DQpjUtzLUwmJZY37Id8X1udcD4daKm22p8n6HBD5sNm

“เคยมีคนมาเสนอให้คืนเงินลูกบ้าน และเขาจะร่วมลงทุนกับผม เพื่อสร้างตึกนี้ให้เสร็จ แต่ผมปฏิเสธไป โดยให้เหตุผลที่ว่า ลูกบ้านเขาไม่เอา เขาจะเอาห้อง ทำไมเขาถึงต้องรอ 20 ปี ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ดอกเบี้ยสักสลึงเดียว ในขณะที่ผมเอาตึกนี้ไปทำกำไรเข้ากระเป๋าตัวเองอย่างมหาศาล

เพราะว่า ผมจะต้องขาย ตร.ม. ละแสนกว่าบาทอยู่แล้ว ทำไมเขาถึงจะต้องได้รับเงินเท่าเดิม มันไม่ยุติธรรม ฉะนั้น สถานการณ์ในตอนนี้และในอนาคต ผมกับลูกบ้านจะต้องหยิบเงินแล้วเดินออกไปพร้อมกัน แล้วให้คนอื่นเขาทำต่อ ผลประโยชน์อยู่กับคนอื่นไม่เกี่ยวกับเรา เราแค่ได้เงินคืนเราก็พอใจแล้ว”

บทเรียน ‘สาธร ยูนีค’ จากวิกฤติต้มยำกุ้ง

“เมื่อสมัย 20 ปีที่แล้ว ผมอายนะ ผมรู้สึกว่า ครอบครัวผมไปโกงอะไรใครหรือเปล่า จนกระทั่งผ่านมาก็ค่อยๆ เรียนรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น…

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤติครั้งนี้ คือ รัฐบาลหลายๆ รัฐบาลก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเข้มข้น คนที่รักษากฎหมาย คนที่เป็นผู้รักษาความยุติธรรมกลับเอามือซุกหีบ เอาทุกสิ่งทุกอย่างหมกไว้ใต้พรม แล้วคิดว่า เดี๋ยวคนพวกนี้คงตายไปเอง…

ตึกร้าง สาธร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา_4DQpjUtzLUwmJZY37Id8X1udcD4daKm6RfDYJakjknEI

นอกจากนี้ ตนยังได้เรียนรู้วิธีการในการจบปัญหาอย่างถูกกฎหมาย และชอบธรรม… “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันสอนให้ผมเป็นคนโกง…แต่พ่อกับแม่ผมดึงไว้ เอาเชือกมัดคออยู่ ถามว่าอึดอัดไหม มันก็อึดอัดจนชิน แต่ถ้าทำตามทางของธุรกิจผมก็รอด ครอบครัวก็รอด แต่ถูกลูกค้าประณาม ขณะเดียวกัน ถ้าจะทำให้ถูกตามทำนองคลองธรรมก็จะถูกคนอีกกลุ่มด่าทอว่า…โง่ ไม่ยอมทำตามวิถีทางธุรกิจ คุณเป็นผมคุณจะทำอย่างไร?”

“ผมคิดว่า มันจะเป็นหนักกว่าเดิมเยอะ เพราะว่า สิ่งที่รัฐบาลหลายๆ รัฐบาลทำ คือ การตั้งกฎหมายขึ้นมาเองแล้วละเมิดกฎหมาย เพราะตัวเองมีอำนาจใหญ่โต ขนาดกฎหมายที่ตั้งขึ้นมาเองยังไม่สามารถที่จะทำได้เลย และเป็นทุกรัฐบาลไม่ใช่แค่เพิ่งจะมาเป็นด้วย” เจ้าของตึกร้างระฟ้า ทิ้งท้าย

ตึกร้างระฟ้าตึกเดียว ก่อให้เกิดข้อคิดมากมายต่อสังคมจริงๆ ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐ


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *