เรื่องแปลกแต่จริง!!! ของภาษาไทยสมัยก่อน

เรื่องแปลกแต่จริง!!! ของภาษาไทยสมัยก่อน

ภาษาไทยสมัยก่อน

“ภาษาไทยสมัยจอมพลแปลก” แบบอ่าน ๆ ไป โห มันแตกต่างจากทุกวันนี้มากอะ เดี๋ยวสรุปให้อ่าน

ข้อ 1. ตัด [ข.ขวด, ค.คน, ฆ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ] แล้วให้ใช้ [ข.ไข่, ค.ควาย, ด, ต, ถ, ท, ธ, น, ส, ล] แทนตามลำดับ

ข้อ 2. ญ.ผู้หญิง ถูกตัดเชิงออก (สัญลักษณ์ด้านล่างที่เหมือนไม้หันอากาศอะ)

(ความเห็นส่วนตัว : ไปตัดมันทำไม มันก็อยู่ดี ๆ ของมัน หรือว่าเวลาเขียนบรรทัดต่อไปเวลาใส่ไม้หันอากาศแล้วใส่ไม้โทมันมาทับกัน)

ข้อ 3. ตัวสะกดที่ไม่ได้มีรากศัพท์มาจากบัซซัน (วิธีเรียกย่อของ บาลี-สันสกฤตสไตล์เรา) ให้เปลี่ยนเป็นตัวสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ – อาด, สมควร – สมควน เป็นต้น

ข้อ 4. เปลี่ยน “อย” (อักษรนำ) เป็น “หย” เช่น อยาก – หยาก

ข้อ 5. เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง – จิง, ทรง – ซง

ข้อ 6. เลิกใช้ “ร หัน ที่ไม่ได้ออกเสียง /อัน/” ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกดอันเดิม เช่น อุปสรรค – อุปสัค, ธรรม – ธัม

ข้อ 7. เลิกใช้ “ใ” เปลี่ยนเป็น “ไ” ทั้งหมด

(ความเห็นส่วนตัว : ไม่เอาเด็ดขาด ไม่งั้นจะท่องผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้รัดคอทำไม)

ข้อ 8. เลิกใช้ “ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ” เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ – พรึกส์, ทฤษฎี – ทริสดี

ข้อ 9. ใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างประเทศ เช่น ใช้มหัพภาคเมื่อจบประโยค (มหัพภาค = จุดฟูลสทอป) และไม่เว้นวรรคเมื่อยังไม่จบประโยคหากไม่จำเป็น

หลังจากสิ้นสุดสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจของสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง จนทุกวันนี้ 

ค่อยยังดี ไม่งั้นเวียนหัวแย่เลย เสน่ห์ภาษาไทยหายหมด!!!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ รมณารมย์ สมาชิกเว็บไซต์ Pantip