ฝุ่น PM 2.5 “หน้ากากอนามัยธรรมดา” ป้องกันไม่ได้นะจ๊ะ!!!

ฝุ่น PM 2.5 “หน้ากากอนามัยธรรมดา” ป้องกันไม่ได้นะจ๊ะ!!!

ฝุ่น 2.5

หลังจากกรมควบคุมมลพิษได้ตรวจพบฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ มาอย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ตรวจวัดได้ระหว่าง 69 – 94 มคก./ลบ.ม. เกินเกณฑ์มาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) 5 สถานี ได้แก่ บริเวณเขตบางนา เขตวังทองหลาง ริมถนนอินทรพิทักษ์ ริมถนนพระราม 4 และริมถนนลาดพร้าว โดยปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

กรมควบคุมมลพิษ จึงแนะนำประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หากจำเป็นต้องออกจากอาคารควรใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์

ฝุ่น 2.5_n95_2

มารู้จักกันว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นอย่างไร

PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็นมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ กล่าวคือ เล็กจนเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้น ฝุ่นพิษจึงเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ โดยฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี เป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ฝุ่น 2.5_n95_6 ฝุ่น 2.5_n95_4

หลายคนจึงป้องกันด้วยการหา “หน้ากากอนามัย” มาสวมใส่ ซึ่งต้องเป็นหน้ากากที่เขียนระบุว่า สามารถกรอง PM2.5 ได้ (กรองฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้) หรือที่เรียกว่า ผ้าปิดจมูกชนิดกรองพิเศษ นั่นเอง

เมื่อมลพิษยังไม่หายไป “การสวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่กัน PM 2.5” ก่อนออกจากบ้าน คือหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้ หรือไม่อย่างน้อย…ก็ระหว่างรอให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หันมาสนใจเรื่องนี้กันจริงจังซะที

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก greenpeace.org siamchemi.com ทะนิด อาร์ม และ workpointnews