ต.ค.นี้…. จะมีการ ถอนเสาไฟฟ้า-สายรกรุงรัง 2 เส้นทาง

ต.ค.นี้…. จะมีการ ถอนเสาไฟฟ้า-สายรกรุงรัง 2 เส้นทาง

สายไฟฟ้า รก ลงดิน

รอกันมานาน สำหรับการสะสางสายไฟฟ้า ที่รกรุงรัง จนสะพัดไปในโซเชียลทั่วโลกแล้ว สำหรับความยุ่งเหยิงของสายไฟฟ้าประเทศไทย

ล่าสุด “กฟน.” แจ้งว่าต.ค.นี้ จะเดินหน้าถอนเสาไฟฟ้า-สายรกรุงรัง ออกทั้งหมดในอีก 2 เส้นทาง พญาไทและสุขุมวิท โดยจะรอเอกชนเจ้าของสายสื่อสารจัดการสายตัวเองคาดไม่เกินสิ้นปีปลอดทั้งเสาไฟและสายไฟฟ้า

นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (ผช.กฟน.) กล่าวว่า

“ภายหลังจากที่กฟน.ดำเนินการเอาสายไฟฟ้าลงดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสายสื่อสารต่างๆ ในถนนพหลโยธินช่วงห้าแยกลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยฯ โดยคาดว่าจะเสร็จเร็วกว่าแผนในวันที่ 25 ก.ย. 60 นี้แล้ว โครงการต่อไปที่กฟน.จะดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าและปลดสายไฟฟ้า สายสื่อสารต่างๆ มีอีก 2 เส้นทาง คือ 1.ถนนพญาไท ตั้งแต่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-บริเวณสะพานหัวช้าง ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร โดยในเส้นทางดังกล่าว กฟน.ได้ดำเนินการเอาสายไฟฟ้าลงใต้ดินระบบเปลี่ยนระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นแบบใต้ดินทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงการนำสายสื่อสารที่พาดอยู่ทั้งหมดออก เพื่อทำการถอนเสาออกเท่านั้น

2.ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ บริเวณทางลงด่วนเพลินจิต-พระโขนง ระยะทางประมาณ 12.6 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.60 เพราะกฟน.จะต้องรอให้เอกชนเจ้าของสารนำสายสื่อสารลงใต้ดินให้เสร็จสิ้นก่อน

สายไฟฟ้า ลงดิน รก_news_rZOKfWkpUu191741_533

นายเทพศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการนั้น ที่ผ่านมา กฟน. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการนนทรีและโครงการพระราม 3 คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 64  และโครงการเอาสายไฟฟ้าลงดินเพิ่มเติมในโครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) งบประมาณ 9,088.8 ล้านบาท

สายไฟฟ้า ลงดิน รก_news_LJWztNyRjj191742_533

หลังจากนั้นกฟน.ก็มีโครงการมหานครอาเซียนระยะทาง 127. 3 กิโลเมตร 39 เส้นทางครอบคลุม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ งบประมาณ 48,171ล้านบาท  ซึ่งรัฐบาลได้เร่งรัดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี กฟน.อยู่ระหว่างเร่งรัดออกแบบให้แล้วเสร็จทุกเส้นทางภายในปี 61 เพื่อจะให้สามารถดำเนินการให้เสร็จภายในปี 65

คราวนี้จะได้เห็นประเทศไทย ไม่มีสายไฟระโยงระยางแล้วล่ะจ้า ภาวนาอย่างเดียวแค่ว่า ถ้าไฟดับแต่ละครั้ง จะใช้เวลาซ่อมนานกว่าเดิมมั้ย เพราะอยู่ใต้ดิน!

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก dailynews