น้อยคนที่รู้ว่า… ฝรั่งคนนี้คือ ผู้บุกเบิก “โรงเรียนแพทย์ศิริราช”!!

น้อยคนที่รู้ว่า… ฝรั่งคนนี้คือ ผู้บุกเบิก “โรงเรียนแพทย์ศิริราช”!!

โรงเรียนแพทย์ ศิริราช

 

โรงเรียนแพทย์หลวง หรือราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราชนั้น ตั้งแต่ตอนสร้างนั้นมีชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่ได้มีส่วนในการก่อตั้งขึ้น มีนามว่า นายแพทย์ยอร์ช บี.แม็คฟาร์แลนด์ หรือชื่อไทยคือ อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม ท่านเป็นชาวอเมริกันที่เติบโตท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่งและไร่นาในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5

พระอาจวิทยาคมจึงมีความเป็นไทยอยู่ในตัวสูงมาก และยังมรักในแผ่นดินสยาม ยกย่อง และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไทยว่าเป็นที่สุดของดวงใจของเขา

หลังจากท่านย้ายมาอยู่ในพระนคร เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคุณพ่อของท่านให้มาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ณ โรงเรียนหลวงแห่งแรก ในกรุงเทพมหานคร พระอาจวิทยาคมมีความขยัน ใฝ่รู้ และรักการเรียน ท่านได้เลือกเรียนต่อทางด้านการแพทย์ และเรียนจบทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา (จบหลายสาขา ท่านเก่งมาก)

หลังจากที่ท่านจบการศึกษาแล้ว จึงได้กลับมายังสยามประเทศ และได้เป็นอาจารย์ใหญ่ เช่นเดียวกับพ่อของท่านที่โรงเรียนแพทย์หลวง หรือราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งในเวลานั้นกำลังเริ่มเป็นโรงเรียนแพทย์หลวงแห่งแรกของไทย

พระอาจวิทยาคมมีความพยายาม มานะและอดทนเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ก้าวหน้า ประชาชนมีการศึกษาน้อยมาก จนแทบจะนับคนที่อ่านออกเขียนได้เป็นรายคนเลยทีเดียว

อีกทั้งช่วงนั้นการแพทย์แผนตะวันตกยังไม่เป็นที่นิยมของชาวสยามด้วย เพราะชาวบ้านยังเชื่อมั่นในแพทย์แผนไทยมากกว่า แต่ท่านก็ได้ทุ่มเท ทั้งแรงกายและแรงใจ สร้างความเข้าใจและเผยแพร่การแพทย์สมัยใหม่ให้ชาวสยามได้รู้จักโดยการเรียบเรียงตำราแพทย์ และบัญญัติคำศัพท์แพทย์ขึ้นใช้เป็นคนแรกของสยาม ทำให้ชาวสยามได้รู้จักแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น และได้ยกย่องท่านในขณะนั้นว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน จนถึงกับได้สมญานามว่า “อิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์”

พระอาจวิทยาคมทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ จวบจนกระทั่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเข้ามารับช่วงต่อ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท่านกำลังจะเกษียณราชการ

หลังจากที่ท่านเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังคงไม่หยุดนิ่ง มีความปรารถนาดีต่อชาวสยาม จนในที่สุดพระอาจวิทยาคมผู้นี้ ก็ได้เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น โดยปรึกษาและค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) พร้อมใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จ ใน พ.ศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

ต่อมามีการศึกษาพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า “ปัตตะโชติ” ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8% ตัวอักษรไทย รวมถึงสระและวรรณยุกต์ที่เราคุ้นเคยอยู่บนแป้นพิมพ์ดีด และคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คือผลงานการคิดค้นของท่าน

พระอาจวิทยาคมสมรสกับนางสาวแมรี่ ไอนา รู้ด ซึ่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2466 และสมรสใหม่กับนางสาวเบอร์ธา เบลานท์ ในปี พ.ศ.2468 ไม่มีบุตรธิดา ท่านได้ดำรงชีวิตมาอย่างสงบและถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 สิริอายุ 75 ปีเศษ

ช่วงบั้นปลายชีวิต ท่านถึงแก่กรรมด้วยอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ในฐานะเชลยสงคราม และยังถูกกักบริเวณ แต่ทั้งนี้ท่านก็ไม่เคยคิดเสียใจกับสิ่งที่ท่านได้อุทิศทั้งแรงกายและใจเพื่อแผ่นดินไทยที่ท่านรักเลยสักครั้ง

น่าสรรเสริญอย่างยิ่งครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก bagindesign  เพจฆาตกรรมบันลือโลก และ wikipedia